tweetbutton

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาพการเพาะปลูกสมัยสุโขทัย...ดีจริงหรือ???

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”...คำกล่าวในศิลาจารึกหลักที่1สมัยสุโขทัย คำกล่าวที่ทำให้เราเชื่อกันว่าการเพาะปลูกสมัยสุโขทัยนั้นดีมาก แต่ที่จริงที่เขายกมาพูดกันนั้น ยังขาดไปท่อนหนึ่งครับ “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จึงถือสรุปได้ว่า เฉพาะสมัยพ่อขุนรามฯเท่านั้นที่การเพาะปลูกดี อุดมสมบูรณ์

จากที่อ.ไพฑูรย์ สายสว่าง ได้วิจัยโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประกอบ จึงบอกได้ว่า การเพาะปลูกสมัยสุโขทัยไม่ดีนัก เนื่องจามีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด ซึ่งเกิดจากการควบคุมน้ำที่ไม่ดีนัก เพราแม้อาณาจักรสุโขทัยจะมีแม่น้ำยมและน่านไหลผ่าน ซึ่งก็น่าจะใช้เพาะปลูกได้ดี แต่ในสมัยนั้นน้ำมีเยอะและไหลเชี่ยวเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลแรงและท่วมเป็นบริเวณกว้าง ดังนั้นพื้นที่นครสววรค์และตลอดจนดินแดนตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นหนองบึงเสียส่วนใหญ่และท่วมเป็นบริเวณกว้างอีกทั้งเป็นที่ลุ่ม นอกเสียจากบริเวณที่ลาดเชิงเขาลงมาเท่านั้นที่น้ำไม่ท่วม

ดังนั้นพื้นที่ที่พอใช้เพาะปลูกได้ก็คือพื้นที่รอบเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะสองข้างของลำน้ำเล็กๆที่จะไหลลงสู่แม่น้ำยม ดดยบริเวณที่ใช้ได้ก็คือ พรานกระต่าย 50 ตร.กม. คีรีมาส 10-15 ตร.กม. ทุ่งเสลี่ยม 70-90 ตร.กม. และอื่นๆรวมทั้งหมดไม่เกิน1,000 ตร.กม. ซึ่งจะเลี้ยงประชากรได้ไม่เกิน3แสนคน


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่พรานกระต่าย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่คีรีมาส


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่ทุ่งเสลี่ยม

เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์สุโขทัยจึงได้พยายามส่งเสริมการเพาะปลูกเช่น ให้สิทธิ์ในที่ดินที่เข้าไปถางป่าเพื่อเพาะปลูก ดังในศิลาจารึกหลักที่1ระบุไว้ว่า

“...สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง

ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้

ป่าลางก็หลายในเมืองนี้

หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้

ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...”

หรือในจารึกนครชุมก็ได้ระบุว่าที่ดินที่ถางป่าไว้เพาะปลูก สามารถเป็นมรดกให้ลูกหลานได้

อีก1นโยบายก็คือการสร้าง“สรีดภงส์”หรือเขื่อนอยู่ทางใต้ของเมืองสุโขทัยนี้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น