tweetbutton

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของตระกูลหยางสมัยราชวงศ์ซ่งและชอนชูสมัยโครยอ : การเผชิญหน้ากับเหลียว(ชิตัน)

จากซีรีย์ “ยอดขุนพลตระกูลหยาง” ที่ออกอากาศทางช่อง3ตอนนี้ ตอนตี2ครึ่ง จันทร์ถึงศุกร์ จริงๆ2เรื่องนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยทั้งสองประเทศเผชิญศัตรูสำคัญเหมือนกันคือ “ชี่ตัน” หรือจีนเรียกว่า “ต้าเหลียว” โดยหยางเย่มีชีวิตในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับพระนางชอนชู (โดยหยางเย่เสียชีวิตปีค.ศ.986 และพระนางชอนชูสิ้นพระชนม์ค.ศ.1029)

การเผชิญหน้ากับเหลียวของโครยอนั้น เหลียวมีความเห็นว่าโครยอเป็นดินแดนคั่นกลางกับจีน อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ถ้าจะพิชิตจีนได้ ต้องพิชิตโครยอให้ได้ เพื่อมิให้เกิดศึกกระหนาบ โดยเรื่องทำนองนี้จะมาเกิดขึ้นอีกสมัยโชซอนในรัชกาลควางแฮกุน (ดูรายละเอียดในบล็อกหัวข้อยอนซันกุน VS ควางแฮกุน จุดเหมือน จุดต่าง นโยบายในสมัยทั้งสอง เป็นทรราชย์หรือไม่ อย่างไร )ซึ่งมีปัญหากับแมนจูนั่นเอง ส่วนการที่เหลียวเข้าโจมตีจีนนั้น เป็นความต้องการโดยตรง โดยช่วงที่เหลียวเข้ามานั้นอยู่ในช่วงตลอดราชวงศ์ซ่ง ตราบจนช่วงปลายเหลียวก็ได้แพ้มองโกล และมองกลก็ได้ยึดครองจีนทั้งหมด ตลอดจนโครยอในตอนกลาง ซึ่งช่วงเวลาที่ตรงกับพระนางชอนชู คือรัชกาลซ่งไท่จู่จนถึงรัชกาลซ่งเหรินจงนั่นเอง

หยางเย่นั้นมีลูกกับเสอไซ่ฮัว(เสอไท้จวิน)9คนและตามตำนานที่เล่ากันมานั้น เหลือเพียงหยางลิ่วหลาง ลูกคนที่6เท่านั้นที่มีชีวิตรอดจากการรบและได้มีลูกชื่อหยางจงเป่า แต่งงานกับมู่กุ้ยอิง มีลูกคือหยางเหวินกว่าง เรื่องจึงค่อนข้างโยงกับขุนศึกตระกูลหยาง และมู่กุ้ยอิง ยอดหญิงตระกูลหยาง ที่เคยออกอากาศมาเมื่อหลายปีก่อน

อีก1ข้อสงสัยของผมก็คือ อ๋อง8นั้น เป็นคนเดียวกับในเรื่องเปาบุ้นจิ้นหรือไม่ เท่าที่หาข้อมูลแล้ว ไม่น่าจะเป็นคนเดียวกัน เพราะเปาบุ้นจิ้นเพิ่งเริ่มรับราชการในสมัยซ่งไท่จง(ซึ่งเป็นฮ่องเต้ในเรื่องนี้) และมารับตำแหน่งระดับสูงขึ้นหน่อยในสมัยซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นพระนัดดาของซ่งไท่จงนั่นเอง น่าจะตรงกับช่วงของขุนศึกหญิงตระกูลหยาง(บรรดาสะใภ้ทั้ง7และลูกสาวอีก2คนของหยางเย่ ซึ่งนำโดยเสอไซ่ฮัว)

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาพการเพาะปลูกสมัยสุโขทัย...ดีจริงหรือ???

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”...คำกล่าวในศิลาจารึกหลักที่1สมัยสุโขทัย คำกล่าวที่ทำให้เราเชื่อกันว่าการเพาะปลูกสมัยสุโขทัยนั้นดีมาก แต่ที่จริงที่เขายกมาพูดกันนั้น ยังขาดไปท่อนหนึ่งครับ “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จึงถือสรุปได้ว่า เฉพาะสมัยพ่อขุนรามฯเท่านั้นที่การเพาะปลูกดี อุดมสมบูรณ์

จากที่อ.ไพฑูรย์ สายสว่าง ได้วิจัยโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประกอบ จึงบอกได้ว่า การเพาะปลูกสมัยสุโขทัยไม่ดีนัก เนื่องจามีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด ซึ่งเกิดจากการควบคุมน้ำที่ไม่ดีนัก เพราแม้อาณาจักรสุโขทัยจะมีแม่น้ำยมและน่านไหลผ่าน ซึ่งก็น่าจะใช้เพาะปลูกได้ดี แต่ในสมัยนั้นน้ำมีเยอะและไหลเชี่ยวเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลแรงและท่วมเป็นบริเวณกว้าง ดังนั้นพื้นที่นครสววรค์และตลอดจนดินแดนตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นหนองบึงเสียส่วนใหญ่และท่วมเป็นบริเวณกว้างอีกทั้งเป็นที่ลุ่ม นอกเสียจากบริเวณที่ลาดเชิงเขาลงมาเท่านั้นที่น้ำไม่ท่วม

ดังนั้นพื้นที่ที่พอใช้เพาะปลูกได้ก็คือพื้นที่รอบเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะสองข้างของลำน้ำเล็กๆที่จะไหลลงสู่แม่น้ำยม ดดยบริเวณที่ใช้ได้ก็คือ พรานกระต่าย 50 ตร.กม. คีรีมาส 10-15 ตร.กม. ทุ่งเสลี่ยม 70-90 ตร.กม. และอื่นๆรวมทั้งหมดไม่เกิน1,000 ตร.กม. ซึ่งจะเลี้ยงประชากรได้ไม่เกิน3แสนคน


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่พรานกระต่าย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่คีรีมาส


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่ทุ่งเสลี่ยม

เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์สุโขทัยจึงได้พยายามส่งเสริมการเพาะปลูกเช่น ให้สิทธิ์ในที่ดินที่เข้าไปถางป่าเพื่อเพาะปลูก ดังในศิลาจารึกหลักที่1ระบุไว้ว่า

“...สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง

ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้

ป่าลางก็หลายในเมืองนี้

หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้

ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...”

หรือในจารึกนครชุมก็ได้ระบุว่าที่ดินที่ถางป่าไว้เพาะปลูก สามารถเป็นมรดกให้ลูกหลานได้

อีก1นโยบายก็คือการสร้าง“สรีดภงส์”หรือเขื่อนอยู่ทางใต้ของเมืองสุโขทัยนี้เอง

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของจีนยุคแรกเริ่มกับหนังเรื่อง“ศึกเทพสวรรค์บัลลังก์มังกร” : โจ้วอ๋อง...ทรราชย์ยุคแรกของจีน

เรื่องนี้ในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ซางย่างเข้าราชวงศ์โจว โดยจุดเริ่มอยู่ที่การที่โจ้วอ๋อง(หรือติวอ๊วงในจีนแต้จิ๋ว)กล่าววาจาจาบจ้วงเจ้าแม่หนี่ว์วา(หรือหนึ่งออในแต้จิ๋ว)ผู้สร้างมนุษย์ และได้ช่วยเหลือโลกโดยอุดท้องฟ้าด้วยหิน5สีเมื่อครั้งเสาค้ำโลกล้มลง ในขณะที่ทำการสักการะประจำปีซึ่งได้เกิดเหตุลมพัดชุดทรงของเทวรูปจนเปิด เห็นรูปร่างภายใน(เทวรูปสมัยนั้นสร้างแบบมีสัดส่วนเหมือนจริง)ว่า หากได้มาเป็นมเหสีก็คงดี เจ้าแม่จึงพิโรธ และได้สั่งให้เจียงจื่อหยาและเซินกงเป้ามาสั่งสอนโจ้วอ๋อง(โจ้วอ๋องเป็นฮ่องเต้ที่โหดร้ายชอบสงคราม) โดยเซินกงเป้าได้ใช้ปีศาจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนเจียงจื่อหยาใช้คุณธรรมช่วย แต่เมื่อไม่อาจบรรลุเป้าหมาย เพราะเซินกงเป้าใช้ปีศาจจิ้งจอกเข้าสิงต๋าจี เพื่อยั่วยวนโจ้วอ๋องจนบ้านเมืองระส่ำระสาย ขุนนางตงฉินถูกกังฉินให้ร้ายจนต้องตาย จึงได้หนีไปแคว้นซีฉี เพื่อร่วมมือกับโจวเหวินหวังแข็งเมืองกับโจ้วอ๋อง และต่อมาเมื่อสิ้นโจวเหวินหวังแล้ว โจวอู่หวังได้ครองราชย์ต่อมา จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายเพื่อโค่นล้มโจ้วอ๋อง และสำเร็จในเวลาต่อมา

นี่คือเรื่องราวโดยคร่าวๆของหนังเรื่องนี้ครับ ทีนี้จะขอเล่าเรื่องในส่วนที่แตกต่างและเพิ่มเติมบ้าง

เจ้าแม่หนี่ว์วา เป็นมเหสีของจักรพรรดิฝูซี จักรพรรดิยุคดึกดำบรรพ์ของจีน เป็นผู้สร้างมนุษย์ตามความเชื่อของจีน มีตำนานว่าได้สั่งให้ปีศาจจิ้งจอก ปีศาจพิณ ปีศาจไก่ มาทำให้บ้านเมืองล่มสลาย โดยไม่ให้ผู้คนเดือดร้อน แต่ทั้ง3ทำผิดเงื่อนไข จึงได้ถูกลงโทษ

โจ้วอ๋อง เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง เจ้าของนโยบาย “เสาทองแดง บ่ออสรพิษ”รวมถึงสร้างสิ่งก่อสร้างที่เกณฑ์ประชาชนมามาสร้างจนล้มตายหลายคน(ภายใต้การส่งเสริมจากต๋าจีฮองเฮาผู้ล่มเมือง)

ต๋าจี เดิมทีเป็นลูกสาวเจ้าเมืองภายใต้อาณัติของโจ้วอ๋อง ถูกส่งตัวมาเพื่อเป็นสนม ต่อมาถูกปีศาจจิ้งจอก9หางสิง และได้นำความล่มจมของราชวงศ์ซางในต่อมา

โจวเหวินหวัง เป็นเจ้าเมืองซีฉี เดิมชื่อจีชาง เชี่ยงชาญการทำนายด้วยกระดองเต่า(ต่อมาคือคัมภีร์อี้จิง)มีตำนานว่าถูกต๋าจีบังคับให้กินลูกชิ้นที่ทำจากเนื้อของลูกตัวเอง ซึ่งถูกประหารก่อนหน้า และเมื่อกลับถึงเมืองซีฉีก็ได้สำรอกออกมาเป็นกระต่าย ขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ กับเทพธิดาฉางเอ๋อ


เจียงจื่อหยา(จีนแต้จิ๋วเรียกเกียงจูแหย) เป็นกุนซือคนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ก่อนหน้าเคยเป็นขุนนางราชวงศ์ซาง แต่ถูกต๋าจีกำจัด แต่หนีรอดมาได้ จึงมาอยู่ป่า และได้ตกปลาโดยใช้เบ็ดตรงรอโจวเหวินหวังเป็นที่มาของรูปปั้นเกียงไท้กงตกปลา หรือที่หลายๆคนมักจะเห็นรูปปั้นตาแป๊ะตกปลานั่นเอง

โจวอู่หวัง เป็นผู้ปราบโจ้วอ๋องลงสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองจีน

เรื่องราวนี้ค่อนข้างมีอภินิหารแฝงอยู่มาก ลองอ่านเพิ่มเติมในหนังสือไคเภ็ก และห้องสินได้ครับ

ซิหยิ่นกุ่ย แม่ทัพคู่บุญถังไท่จง เรื่องเพิ่มเติมจาก “ซิยิ่นกุ้ย จอมทัพคู่บัลลังก์”

เซวีย เหริน กุ้ย หรือที่คนไทยรู้กันในนามว่า “ซิยิ่นกุ้ย” แต่จริงๆถ้าจะออกเสียงให้ถูกต้องในภาษาจีนแต้จิ๋วแล้ว ต้องออกเสียงว่า “ซิ หยิ่น กุ่ย“ เป็นแม่ทัพใหญ่ในช่วงปลายสมัยของถังไท่จง ขึ้นชื่อในฝีมือการรบ เคยรบกับอาณาจักรโคกูรยอทางเกาหลีด้วย (ในค.ศ.640ช่วงปลายสมัยโคกูรยอแล้ว ด้วยความร่วมมือกันกับอาณาจักรชิลลาสมัยพระนางซอนต๊อก ซึ่งความจริงก่อนหน้านี้จีนไม่เคยชนะโคกูรยอมาก่อน แต่ทว่าหลังโคกูรยอเสียนายพล ยอนแกโชมุนไป โคกูรยอก็อ่อนแอลงอย่างชัดเจน จนเสียเอกราชแก่ชิลลาในค.ศ.642) และได้รบกับทิเบต ในค.ศ.670 และเสียชีวิตในค.ศ.683



มีตำนานกล่าวขานว่าถังไท่จงทรงสุบิน(ฝัน)ร้ายว่ามีปีศาจทำร้าย และขุนพลชุดขาวก็มาช่วย โดยฉีม่อกงก็ได้ทำนายว่าบุคคลนี้จะเป็นแม่ทัพที่มาช่วยพระองค์ ถังไท่จงจึงได้สั่งให้ประกาศรับสมัครทหาร และซิยิ่นกุ้ยก็ได้เข้ารับราชการและสร้างผลงานจนได้เป็นแม่ทัพใหญ่ และกินถึงวันละ7ถัง!!! แต่ตายด้วยฝีมือลูกชาย “ซิ เต็ง ซาน” ที่ฝันร้ายว่าถูกเสือกระโจนใส่ ซึ่งมีเรื่องที่กล่าวกันว่า ซิยิ่นกุ้ยเป็นเทพเสือขาวจุติมา(จุติแปลว่าตายนะครับ ไม่ได้แปลว่าเกิดอย่างที่เข้าใจกัน)ส่วนซิเต็งซานเป็นเทพมังกรเขียว ซึ่งตรงข้ามกัน (ตามหลักฮวงจุ้ย มี4ทิศคือ เหนือ – เต่าดำ,ใต้ – หงส์แดง ตะวันออก – เสือขาว และตะวันตก – มังกรเขียว) ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง หลังสมัยราชวงศ์ถังแล้ว




เรื่องราวของซิยิ่นกุ้ยถูกนำมาทำเป็นหนัง รวมถึงงิ้ว และ“กวยแฉะ”เพลงงิ้วของจีน ซึ่งเรื่องราวจะยาวไปจนถึงรุ่นหลานของซิยิ่นกุ้ย คือ “ซิ กัง” และ1ในนั้นก็คือ “ซิยิ่นกุ้ย จอมทัพคู่บัลลังก์” แต่ทว่าเรื่องราวกลับจบลงที่รุ่นซิยิ่นกุ้ยเอง ไม่ได้ยาวจนรุ่นหลาน ซึ่งถ้าต่อจากนั้นมีตำนานว่าซิเต็งซานถูกประหารทั้งตระกูล ในสมัยถังเกาจง(หลี่จื้อ)โดยถูกกังฉินให้ร้าย พอต่อมาได้ขุดสุสานที่ฝังศพของตระกูลซิ ก็ได้พบว่าส่วนหัวกับส่วนลำตัวได้ต่อเข้ากัน เฉิงเหย่าจิน(ที่ในหนังเรียกกันว่าพระพันปีเฉิง)ก็ได้หัวเราะว่าซิเต็งซานนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ จนตายด้วยวัย120 ปี

เพิ่มติมอีกเล็กน้อยด้วยเรื่องของ “เว่ย เจิง” ขุนนางตงฉินของถังไท่จง ซึ่งในหนังเป็นผู้ทัดทานเรื่องบำเหน็จของแม่ทัพที่ไปรบในป๋อเหลียว(รวมถึงซิยิ่นกุ้ยด้วย)บุคคลนี้ได้ชื่อว่าเป็นกระจกวิเศษของถังไท่จง ทัดทานเรื่องต่างๆที่เห็นว่าไม่สมควร ไม่ดีต่อบ้านเมืองของถังไท่จง เมื่อถึงแก่อสัญกรรม ถังไท่จงทรงเสียพระทัยอย่างมาก พระองค์ทรงตรัสว่า:
การใช้คันฉ่องทองเหลืองสามารถส่องดูการแต่งตัวได้ เฉกเช่นเดียวกับการนำประวัติศาสตร์มาเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและการล่มสลาย ดังนั้น การนำคนมาเป็นกระจกเงาสามารถทำให้ล่วงรู้ความถูกและความผิดได้เช่นกัน บัดนี้เว่ยเจิงได้เสียชีวิตไปแล้ว ข้าก็ถือว่ามีกระจกเงาน้อยลงไปอีกหนึ่งบาน

อีกหนึ่งคน อี้ ฉือ กง เป็นแม่ทัพใหญ่ของราชวงศ์ถัง จัดได้ว่าเป็นแม่ทัพที่ร่วมรบกับถังไท่จงมาตลอด ซึ่งก็มีตำนานว่าเขามี แส้โบยอ๋อง ที่สามารถโบยฮ่องเต้ประพฤติผิดได้ และได้มีคำทำนายว่าม้าตาย แส้หัก คนตาย ซึ่งอี้ฉือกงมีม้าส่วนตัวชื่อม้าเมฆดำ และเมื่อซิยิ่นกุ้ยถูกให้ร้าย เขาได้เข้าเฝ้าถังเกาจง เพื่อขออภัยโทษ แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น อี้ฉือกงจึงได้ใช้แส้นี้ไล่ตีถังเกาจงจนแส้หัก และเมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าตัวจึงฆ่าตัวตายโดยเอาหัวโขกเสา

โดยสมัยของซิยิ่นกุ้ยตรงกับสมัยปลายสามก๊กเกาหลี และตรงกับไทยสมัยทวาราวดี และยุคกลางของยุโรป


วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

เทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ การไหว้ ประเพณี ประวัติศาสตร์ การแข่งขัน

เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลไหว้ที่ 5 ของปี ตรงกับวันที่15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (ราวๆกันยายน-ตุลาคม)มีที่มาหลากหลายดังนี้ครับ

1.เกิดขึ้นในสมัยฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นประเพณีไหว้ประจำฤดูใบไม้ร่วง

2.เกิดขึ้นในปลายสมัยมองโกล ที่ชาวบ้านจะยัดใบนัดหมายกันเพื่อรวมตัวขับไล่มองโกลออกไป ลงในขนมไหว้พระจันทร์ โดยที่ชาวมองโกลไม่รู้เรื่องเลย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ พอถึงเดือน 8 ปุ๊บ ทหารมองโกลก็ถูกขับไล่ไปจนหมด

3.เป็นการไหว้เทพธิดาฉางเอ๋อที่ช่วยเหลือด้านการเกษตรของชาวนา

ส่วนเรื่องการไหว้ ปกติจะไหว้กันด้วยเครื่องสำอาง เครื่องประทินโฉมตามแบบของผู้หญิง และขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ต่างๆก็ว่ากันไป (ซึ่งจริงๆใส้ทุเรียนมีเฉพาะในไทย และปกติเขามีแค่โหงวยิ้ง หรือถั่ว5อย่าง)และถ้าจะให้เต็มรูปแบบแล้ว ต้องมีเนี่ยเก็งหรือตำหนักเจ้าแม่ ที่เป็นราวแขวนม่านประดับกระดาษพับลวดลายต่างๆอย่างสวยงาม และจัดไหว้ตอนค่ำ



ตัวอย่างเนี่ยเก็งภาพเมื่อ2528ของคุณแม่ แม่บอกว่าใช้เวลาทำนาน ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว

พูดถึงเรื่องการแข่งขันกันบ้าง ถ้าเมื่อก่อนก็เห็นจะเป็นเนี่ยเก็งนี่เอง โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนละก็ จะเห็นกันพรึ่บ ในภาพ ขอให้ดูที่ด้านหลัง จะมีเนี่ยเก็ง2หลัง 2บ้าน ตั้งข้างๆกัน




แต่ทว่า ปัจจุบันคงไม่ใช่อีกแล้ว เห็นจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์ซะมากกว่า ทั้งโปรโมชั่น 4แถม1 แถมกล่องสวยๆมั่งแหละ ไส้ขนมที่พิสดารยิ่งกว่าเดิม เช่น ไส้ชาเขียว กาแฟ แถมบางเจ้าเป็นช็อคโกแลตเลยก็มี แถมลดราคาอีก ไปๆมาๆลูกค้าอย่างเราๆเลือกกันไม่ถูกเลยทีนี้

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ชอนชู หัวใจเพื่อแผ่นดิน : พัลแฮ....อาณาจักรนี้มาจากไหน

จากละครเรื่องชอนชู หัวใจเพื่อแผ่นดิน ที่ออกอากาศเป็นตอนแรกเมื่อครู่นี้( 12 ก.ย. แทนซอนต๊อก) มีส่วนหนึ่งของเรื่องที่ระบุถึงอาณาจักรพัลแฮ ที่มีรองแม่ทัพเป็นโอรสรัชทายาทพัลแฮ โดยอาณาจักรนี้ มีที่มาดังนี้ครับ


อาณาจักรพัลแฮ เป็นอาณาจักรของชาวโคกูรยอเดิมที่ตั้งโดยแม่ทัพของโคกูรยอตั้งเป็นอาณาจักรขึ้น ตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของโคกูรยอ การเกิดอาณาจักรนี้ได้ส่งผลต่อความมั่นคงของชิลลา จึงได้ขอให้จีนในสมัยราชวงศ์ถังเข้าโจมตี แต่ทางจีนได้ยอมรับฐานะของอาณาจักรนี้และทางพัลแฮก็ได้เจริญสัมพันธกับจีน (ต่างจากสมัยที่เป็นโคกูรยอ ที่ค่อนข้างไม่ชอบจีนอยู่พอควร) ต่อมาได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของเผ่าชิตันและชนชั้นสูงของพัลแฮก็ได้อพยพลงใต้และรวมเข้ากับโครยอ(เท่ากับว่าอาณาจักรนี้สิ้นสุดในเวลาที่ใกล้เคียงกับชิลลา)โดยชาวพัลแฮก็ได้เข้ารับราชการในอาณาจักรโครยอนั่นเอง

ส่วนชื่ออาณาจักร อาจเรียกได้ 2 ชื่อ คือ บัลแฮ และ พัลแฮครับ ส่วนทางจีนจะเรียกว่า ป๋อไห่


วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ชอนชู...หัวใจเพื่อแผ่นดิน...สภาพเกาหลีก่อนยุคสมัยของชอนชู

ซีรี่ย์เรื่องซอนต๊อกซึ่งกำลังจะจบลงไปนั้น หลังจากที่รวมสามก๊กเป็นหนึ่งเดียวได้ในสมัยพระเจ้ามูยอล(คิมชุนชู)แต่แล้วก็กลับมาแตกแยกเป็นสามก๊กอีกครั้งในค.ศ.900 โดยมี 3 อาณาจักร คือ หูแพกเจ หูโคกูรยอ (หูภาษาเกาหลีแปลว่าหลัง จึงแปลได้ว่า แพกเจยุคหลัง และโคกูรยอยุคหลัง) และชิลลาเดิม แต่แพกเจยุคหลังก็ล่มสลายไปก่อน จึงเหลือโคกูรยอยุคหลัง ซึ่งมีผู้นำคือ วังกอน ก็สามารถรวมทั้งสามก๊กได้อีกครั้ง และกษัตริย์ชิลลาองค์สุดท้ายก็ได้สวามิภักดิ์ต่อวังกอนโดยสันติ วังกอนจึงปราบดาตนเป็นกษัตริย์และตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ว่า โครยอทรงพระนามว่า พระเจ้าแทโจ (ชื่อโครยอนี้ กลายเป็นที่มาของ Korea และเกาหลีในปัจจุบัน)



ต่อมาเผ่าชิตัน(หรือเผ่าเหลียวที่รุกรานจีน)ก็เริ่มรุกรานโครยอ โดยเริ่มรุกรานอาณาจักรพัลแฮ(ของโคกูรยอเดิม ที่ตั้งขึ้นทางเหนือของชิลลา)และเริ่มขัดแย้งกับโครยอ...รายละเอียดที่เหลือดูในละครก็แล้วกันนะครับ แต่ที่แน่ๆพระเจ้าแทโจ มีคำสั่งไว้ว่าไม่ให้รับวัฒนธรรมชิตันโดยเด็ดขาด ถือเป็นหลักการปกครอง 1 ใน 10 ข้อ ที่เรียกว่า ฮุนโยซิบโจ

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ซอนต๊อก มหาราชินีสามแผ่นดิน VS Elizabeth The Golden Age หนังสนุกกับจุดที่คล้ายกัน

หลังจากที่ได้ดูซอนต๊อกในวันที่ผ่านมา ทำให้ผมนึกถึงหนังเรื่องที่สนุกๆเรื่องหนึ่ง คือเรื่องนี้นี่แหละครับ Elizabeth The Golden Age หรือ เอลิซาเบธ ราชินี บัลลังก์ทอง (น่าจะแปลว่ายุคทองมากกว่า) ในเรื่องนี้ เป็นหนังอิงประวัติศาสตร์อังกฤษ สมัยพระนางเอลิซาเบธที่1 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งมีชะตาชีวิตคล้ายกับราชินีซอนต๊อก ที่ก่อนครองราชย์ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆนานา และขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับอิทธิพลของแมรีที่1 หรือแมรี่กระหายเลือด แมรี่ก็คงคล้ายกับมีซิล ที่พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองมีอำนาจ แต่แมรี่หนักกว่าเพราะทรงสมรสกับฟิลิปที่ 2 กษัตริย์แห่งสเปน และเมื่อสมรสแล้ว กลับกลายเป็นว่าทรงนำอังกฤษเข้าร่วมสงครามกับสเปน จนในที่สุดเมืองคาเล่ส์ ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายที่อังกฤษมีเหลืออยู่บนยุโรป(ลองกลับไปอ่านหัวข้อสงคราม100ปีดูนะครับเผื่อเข้าใจเรื่องเมืองนี้มากขึ้น)


เรื่องในหนังทั้งสอง ที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวกัน ก็คงเป็นสงครามที่พระนางเอลิซาเบธทรงทำกับสเปน คือสงครามอาร์มาดาซึ่งเป็นสงครามครั้งใหญ่และเป็นสงครามที่ทำให้สเปนอ่อนอำนาจลงในยุโรป หลังจากที่เป็นมหาอำนาจของยุโรปมานาน ขณะเดียวกันการรบกับแพกเจของชิลลานี้ ก็ทำให้แพกเจอ่อนแอจนถูกชิลลายึดครองเช่นกัน นอกจากนี้ นิสัยของทั้งสองราชินี ก็เหมือนกันที่ไม่ยอมแต่งงานกับชายใด เพราะไม่ต้องการให้ใครมามีบทบาทเหนือตัวพระองค์เอง ขณะเดียวกัน ทั้งสองก็มีขุนพลคู่ใจ คือ เซอร์ วอลเตอร์ ราเลห์ และ แม่ทัพ คิมยูซิน เคยเป็นคนรักของราชินีทั้งสองด้วย อีกจุดหนึ่ง พระนางแมรี่ สุดท้ายก็ถูกประหาร แต่พระนางเอลิเบธไม่เต็มใจลงพระนามในคำสั่ง ส่วนราชินีซอนต๊อก ก็ไม่ได้ต้องการประหารมีซิล แต่ต้องการเอาตัวมีซิลมาใช้งาน แต่นางกลับกินยาตายซะก่อน

และนี่คือpartแรกของหนังเรื่องนี้ ถ้าต้องการดูต่อก็คลิกดูได้เลยครับ

type="application/x-shockwave-flash" >
Elizabeth The Golden Age อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์ทอง 1/5 - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันนี้ในอดีต...ยุทธภูมิเมืองเครซี ในสงครามร้อยปี

สงครามร้อยปี(ค.ศ.1337-1453)เป็นสงครามระหว่างอังกฤษ – ฝรั่งเศส ชื่ออาจเรียกว่าร้อยปี แต่เวลามันเกินกว่าชื่อครับ(116 ปี) มีสาเหตุดังนี้

1. อังกฤษในสมัยราชวงศ์เพลนตาจิเนต (กษัตริย์ที่ขึ้นชื่อหน่อยก็คือ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับไพโรจน์ ใจสิงห์นะครับ 555 อีกหนึ่งก็คือ พระเจ้าจอห์น ที่ถูกบังคับให้ลงนามในมหาบัตร แมกนา คาร์ตาที่จะนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญของอังกฤษ) มีที่ดินอยู่จำนวนมากในดินแดนฝรั่งเศส ซึ่งดินแดนที่มีจำนวนมากเหล่านี้ ก็เกิดจากการสมรสกันระหว่างกษัตริย์อังกฤษกับเจ้าหญิงฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็ต้องการดินแดนเหล่านี้คืน

2. กษัตริย์อังกฤษ(พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3)ทรงเรียกร้องสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส(เพราะตอนนั้นฝรั่งเศสหมดราชวงศ์ครับ)โดยได้อ้างสิทธิ์ทางพระมารดา

3. อังกฤษไม่พอใจฝรั่งเศสหลายเรื่องเช่น การให้ความช่วยเหลือแก่สก็อตแลนด์ในการทำสงครามกับอังกฤษของฝรั่งเศส หรือการขัดขวางการค้าขนสัตว์และเหล้าองุ่นของอังกฤษกับแฟลนเดอร์ของฝรั่งเศส

โดยผลของสงครามนี้ก็คือ อังกฤษเสียเมืองบนฝรั่งเศสทั้งหมดเหลือเพียงเมืองคาเลส์เท่านั้น และฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายชนะโดยความสามารถของโจน ออฟ อาร์ค ที่สุดท้ายก็ถูกกล่าวหาเป็นแม่มดและถูกเผาทั้งเป็น และต่อมาเธอได้รับสถาปนาเป็นนักบุญ


โจน ออฟ อาร์ค (ขอบคุณภาพจาก th.wikipedia.org)

ส่วนเรื่องของยุทธภูมิเครซี ถือเป็นยุทธภูมิที่มีการใช้อาวุธสมัยใหม่ขึ้น โดยที่อังกฤษเป็นผู้ชนะในยุทธภูมินี้

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ยอนซันกุน VS ควางแฮกุน จุดเหมือน – จุดต่าง นโยบายในสมัยทั้งสอง เป็นทรราชย์หรือไม่ อย่างไร

สำหรับท่านที่เคยดู บันทึกรักคิมชูซฮน สุภาพบุรุษมหาขันที ตอนกลางไปจนถึงท้ายเรื่อง จะมีองค์ชายองค์หนึ่งคือองค์ชายยอนซํน ที่เป็นโอรสของมเหสียุน หรือยุนโซวา ที่ถูกประทานยาพิษ ต่อมาจะได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งโชซอน และจะถูกยึดอำนาจและเนรเทศไปในเวลาต่อมา

ยอนซันกุน ในหนังคิมชูซอน

ส่วนกษัตริย์อีกพระองค์ คือควางแฮกุน สำหรับท่านที่ได้ดูหนังเรื่องตำหนักนางพญาที่ออกอากาศทางช่อง 3 ทรงขึ้นครองราชย์โดยการสนับสนุนของขุนนางกลุ่มของ จองอินฮง และลียีชอง และยังมีคิมซังกุงร่วมด้วย และในที่สุด ก็ถูกขุนนางฝ่ายตะวันตกยึดอำนาจและถูกเนรเทศไปเกาะคังฮวาในเวลาต่อมา


ควางแฮกุนในหนังตำหนักนางพญา

ทีนี้ เราเรามาดูนโยบายของทั้งสองกันก่อนครับ

ยอนซันกุน - เริ่มต้นก็ทรงสั่งประหารกลุ่มนักปราชญ์ที่เขียนตำราที่ต่อต้านการขึ้นครองบัลลังก์ของพระเจ้าเซโจ ทวดของพระองค์ และต่อมา เมื่อทรงทราบเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระมารดา (มเหสียุน) ก็ได้สั่งให้หาตัวผู้ที่มีส่วนในการสิ้นพระชนม์ และให้ประหารเสีย ซึ่งก็รวมไปถึงพระอัยยิกายินซู ซึ่งเป็นผู้สั่งประหารพระนาง และพระสนมชอง พระสนมออม พระสนมของพระบิดาของพระองค์ รวมทั้งขุดศพ ฮันมยองเฮ หรือใต้เท้าซํงตัง ขึ้นมาตัดหัวประจาน เป็นการประหารนักปราชญ์ครั้งที่สอง ปลายรัชกาล ก็ได้ทรงทำลายพุทธศาสนาในเกาหลีลง โดยการปิดวัดและยึดทรัพย์ของวัดมาทั้งหมด และได้ให้คัดเลือกหญิงงามทั่วประเทศ ซึ่งมีนางโลมมาด้วย และได้รับตั้งเป็นพระสนมซูยง จนเกิดกลียุค และชาวบ้านก็ได้เขียนข้อความด่าพระองค์เป็นอักษรฮันกึล จึงทำให้พระองค์สั่งห้ามใช้อักษรฮันกึล ในที่สุด พระองค์ก็ถูกยึดอำนาจ โดยกลุ่มของปักควอนจง ซองฮึยอัน และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะคังฮวา จนสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน


พระพันปียินซู ในหนังคิมชูซอน

ควางแฮกุน – ทรงสั่งเนรเทศองค์ชายอิมแฮ พระเชษฐาร่วมพระมารดาของพระองค์ ไปที่เกาะคังฮวา แต่ถูกคนของลียีชองบังคับให้ทำอัตวินิบาตกรรม (ฆ่าตัวตาย) ต่อมาทรง เนรเทศองค์ชายยองชาง โอรสของพระพันปีอินมก และก็ได้ถูกรมควันในที่พักจนตาย (ขออธิบายก่อนนะครับ ที่เกาหลีใช้ระบบทำความร้อนที่ใช้ฟืนจุดที่พื้นใต้ถุนบ้านและส่งความร้อนไปทั่วบ้าน เรียกว่าระบบอนโดล ใช้กันมาตั้งแต่สมัยสามก๊กของเกาหลีครับ และเมื่อจุดฟืนมากไป ก็จะร้อนจนรมควันนั่นแหละครับ) โดยคนของลียีชอง ต่อมาก็ได้ทรงเนรเทศองค์ชายนึงชาง โอรสองค์ชายจองวอนพระอนุชาของพระองค์ ไปที่เกาะคังฮวา และได้ถูกบีบให้ทำวินิบาตกรรมเหมือนองค์ชายอิมแฮ ต่อมาก็ได้ทรงปลดพระพันปีอิมมก เป็นเพียงซอกุง ที่มีฐานะเสมือนสนมของกษัตริย์ในรัชกาลก่อน และได้ประหารขุนนางกลุ่มที่หนุนพระพันปี รวมถึงบิดาและพี่น้องของพระนาง รวมไปจนถึงเนรเทศมารดาของพระนาง ในรัชกาลของพระองค์ เป็นช่วงที่ราชวงศ์หมิงของจีน กำลังเข้าสู่จุดล่มสลาย และเผ่าแมนจูก็ตั้งเป็นแคว้นจิน และเข้าโจมตีจีน จึงทำให้โชซอนซึ่งเป็นเสมือนประเทศราชของจีน ตกในฐานะลำบาก เมื่อจีนได้ขอกำลังหนุนจากโชซอน ในขณะเดียวกันแมนจูก็ขอมิให้ส่งกำลังเข้าไปช่วย จึงทรงส่งกองทัพไปช่วย 13,000 คน แต่ก็ทรงได้มีคำสั่งลับกับคังฮงนิบแม่ทัพว่าถ้าเห็นใครได้เปรียบก็ให้ไปช่วยฝั่งนั้น ในที่สุดคังฮงนิบก็ไปช่วยฝั่งแมนจู และพระองค์ก็ถูกกลุ่มขุนนางตะวันตกยึดอำนาจ และถูกเนรเทศไปที่เกาะคังฮวา และสิ้นพระชนม์ในเวลา 20 ปีต่อจากนั้น


พระพันปีอิมมก ในหนังตำหนักนางพญา

ทีนี้ เรามาวิเคราะห์กันดีกว่า ว่าอะไรที่ทำให้กษัตริย์ทั้งสองกลายเป็นกษัตริย์ที่มือเปื้อนเลือดเช่นนี้

ยอนซันกุน – ในส่วนตัวแล้ว เห็นว่าทรงมีปมที่สูญเสียพระมารดา และทรงเจ็บแค้น เรื่องนี้อยู่แล้ว เมื่อทรงรู้ความจริงเข้า จริงทรงระบายและแก้แค้นแทนพระมารดาของพระองค์ จึงเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น และรวมถึงมหาดเล็กกังฉินและขุนนาง ที่คอยยุยงส่งเสริม และต้องการกำจัดกลุ่มอิทธิที่เป็นศัตรูกับตนเองด้วย อีกทั้งทรงเป็นกษัตริย์ที่สร้างความเสื่อมเสียต่ออาณาจักร

ควางแฮกุน – ในส่วนตัวแล้ว เห็นว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ และเลือกใช้คนผิดอย่างลียีชอง เพราเรื่องการสิ้นพระชนม์ขององค์ชายทั้งสามนั้น หาได้เกี่ยวข้องกับพระองค์ รวมถึงพระพันปีอิมมกที่ถูกปลดนั้น ก็เป็นฝีมือของขุนนาง และพระพันปีนั้นทรงเป็นเพียงพระมารดาเลี้ยงเท่านั้น(ทรงเป็นโอรสที่ประสูติจากสนมกงพิน ในพระเจ้าซอนโจ) และนโยบายที่ส่วนตัวเห็นว่าถูกต้องก็คือ เรื่องการที่ส่งทหารไปช่วยจีนที่กล่าวไปแล้ว เพราะราชวงศ์หมิงก็ถูกล้มลงโดยแมนจูในที่สุด

ต้องขอบอกเป็นเกร็ดเล็กน้อยว่า สังเกตได้ใช่ไหมครับว่าทั้งสองพระองค์ จะลงท้ายพระนามว่ากุน เพราะทั้งสองพระองค์มิได้รับการยอมรับในฐานะกษัตริย์ จึงถูกเรียกว่า กุนซึ่งแปลว่า องค์ชาย

อีกข้อหนึ่งที่สังเกตได้ก็คือ ทั้งยอนซันกุน ควางแฮกุน องค์ชายอิมแฮ องค์ชายยองชาง และองค์ชายนึงชาง ต่างถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะคังฮวาทั้งหมด

โดยในสมัยโชซอน กษัตริย์ที่ถูกยึดอำนาจ ก็มีเพียง 2 องค์นี้เท่านั้น และส่วนตัวแล้วก็สรุปได้ว่า ยอนซันกุนเป็นทรราชย์ ส่วนควางแฮกุนเป็นเพียงกษัตริย์ที่อ่อนแอเท่านั้น

และเพิ่มเติมในหนังคิมชูซอน จะไม่เห็นการประหารพระพันปียินซู เพราะการสร้างหนังจะต้องมีเนื้อหาที่ซอฟท์ลง การประหารญาติเช่นนี้ถือว่ารุนแรงเกินไปครับ

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำหนักนางพญา.....เหตุการณ์หลังจากนั้น

หนังเรื่องนี้อาจไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะเป็นหนังที่ออกอากาศตอนดึกตี 2 ครึ่ง – ตี 4 ทางช่อง 3 คืนนี้จะถึงตอนจบแล้วครับ ก่อนอื่นเราต้องเอ่ยถึงเรื่องราวโดยย่อกันก่อน



เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าควางแฮกุนแห่งราชวงศ์โชซอน (สำหรับผู้ที่เคยดูเรื่องหมอโฮจุน ท่านมีชีวิตในสมัยนี้ครับ) โดยย้อนไปสมัยพระเจ้าซอนโจพระบิดาของพระองค์ ในขณะที่พระองค์เป็นรัชทายาท แสดงถึงการก้าวสู่การเป็นกษัตริย์ของพระเจ้า ควางแฮ ตลอดจนการสิ้นสุดสมัยของพระองค์โดยถูกกลุ่มขุนนางยึดอำนาจ และเล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งเรื่องนี้ เรื่องนี้สร้างขึ้นในพ.ศ.2538/ค.ศ.1995 เหตุการณ์สำคัญโดยเฉพาะการต่างประเทศที่สำคัญ จะอยู่ท้ายเรื่อง คือการที่อาณาจักรจิน (หรือแมนจูที่จะมาตั้งราชวงศ์ชิงที่จีน) ยกทัพเข้าตีจีนในสมัยปลายราชงศ์หมิง โดยที่จีนก็ขอกำลังจากโชซอน ส่วนทางแมนจูก็ขออย่าให้ส่งไปช่วย (ทำเกียร์ว่างนั่นเอง) เหตุการณ์นี้ทำให้พระองค์ทรงขัดแย้งกับขุนนาง โดยที่พระองค์เห็นว่าไม่ควรส่งไป แต่ขุนนางกลับเห็นให้ส่งไป ซึ่งผลก็คือจำต้องส่งไป แต่พระเจ้าควางแฮก็ได้มีคำสั่งลับให้คังฮงนิบ แม่ทัพที่นำทัพไปช่วยจีนว่าหากเห็นว่าใครได้เปรียบกว่าก็ให้ไปเข้ากับฝ่ายนั้น ในที่สุดแม่ทัพก็ยกทหารไปเข้ากับแมนจู ส่วนรายละเอียด ก็ไปดูย้อนหลังกันนะครับ หลังจากนี้(ซึ่งหนังที่ออนแอร์จะมาถึงตอนนี้)พระเจ้าควางแฮจะถูกยึดอำนาจโดยขุนนางกลุ่มตะวันตก และถูกเนรเทศไปเกาะคังฮวา อยู่ที่นั่น 17 ปีจนสิ้นพระชนม์ ส่วนองค์ชายนึงยาง โอรสองค์ชายจองวอน ก็ได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าอินโจ ทีนี้เราจะเข้าเรื่องของเหตุการณ์ต่อจากนั้นกันครับ

หลังจากนี้ กลุ่มขุนนางที่หนุนพระเจ้าอินโจเป็นพวกนิยมราชวงศ์หมิง จึงส่งผลต่อนโยบายระหว่างประเทศของโชซอน โชซอนกลับไปช่วยหมิงอีก จนในที่สุดแมนจูโค่นราชวงศ์หมิงลงได้ แล้วให้คังฮงนิปยกทัพเข้าตีโชซอน ผลคือพระเจ้าอินโจต้องย้ายราชสำนักไปอยู่ที่เกาะคังฮวา(ที่เดียวกับที่พระเจ้าควางแฮอยู่หลังถูกเนรเทศ) แล้วขอเจรจาสันติภาพ แต่แล้วกลุ่มขุนนางก็ยังคงไม่ยอมรับแมนจูอีก ตราบจนหวงไท่จี๋ตั้งราชวงศ์ชิงขึ้นอย่างเป็นทางการ ทางโชซอนไม่ได้ส่งผู้แทนไปร่วม และหวงไท่จี๋ได้ส่งทูตมาเพื่อให้โชซอนยอมเป็นประเทศราช แต่ทางโชซอนกลับเตรียมทหารไว้แล้ว คณะทูตจึงได้กลับไปทูลหวงไท่จี๋ และพระองค์ก็ได้ยกกองทัพ120,000 เพื่อบุกโชซอน ผลคือ โชซอนต้องส่งบรรณาการแก่ราชวงศ์ชิง และยังต้องให้องค์ชาย 2 องค์ คือ องค์ชายโซฮยอง และพงนิม ไปเป็นตัวประกัน รวมถึงพระเจ้าอินโจต้องคำนับพระเจ้าหวงไท่จี๋ตามธรรมเนียม(คือกราบ9ครั้ง) สร้างความอัปยศอดสูต่อพระองค์อย่างมาก

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของสามก๊ก จีน – เกาหลี

วันนี้เราจะพูดถึงความต่างระหว่างสามก๊กของจีนและเกาหลี โดยมีประเด็นที่วิเคราะห์ได้คร่าวๆดังนี้ครับ

1. จีนมีจุดเริ่มจากการมีกลุ่มอำนาจของเหล่าขุนศึก(อ้วนเสี้ยว โจโฉ เตียวล่อ เล่าปี่ เล่าเปียว เล่าเจี๋ยง อ้วนสุด และซุนเซ็ก)ทั่วทั้งจีน ขณะที่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นเดิม(พระเจ้าเหี้ยนเต้)ยังอยู่ในราชสมบัติ และภายหลังจึงถูกโจผีบุตรโจโฉขับจากบัลลังก์ แต่เกาหลีเกิดจากชนเผ่าต่างๆหลายชนเผ่า(เช่น โคกูรยอ พูยอ ซาโร มาฮั่น ชินฮั่น พยอนฮั่น คายา ฯลฯ)รวมกันเป็น 4 ก๊ก(คือ โคกูรยอ ชิลลา คายา และแพกเจ) ในศตวรรษที่ 5 โดยคายาถูกรวมกับชิลลาในสมัยพระเจ้าชิจึงต้นศตวรรษที่6 และที่แตกเป็นชนเผ่าก็มีสาเหตุจากอาณาจักรโกโชซอนล่มสลายเพราะถูกจีนรุกราน

2. จุดสิ้นสุดของสามก๊กจีน โดยทายาทของผู้ตั้งก๊กมิได้เป็นผู้รวบรวมทั้ง 3 ก๊กเข้าด้วยกัน แต่เป็นขุนนางของวุยก๊ก(สุมาเอี๋ยน)เป็นผู้รวบรวมขอไล่เรียงเชื้อสายของผู้ตั้งก๊กทั้ง 3 ก๊ก ดังนี้ครับ (โจโฉ : โจผี โจยอย โจฮอง โจมอ และโจฮวน เล่าปี่ : เล่าเสี้ยนหรืออาเต๊า ซุนกวน : ซุนเหลียง ซุนซิว และซุนโฮ)โดยที่โจฮวนถูกสุมาเอี๋ยนยึดบัลลังก์แล้วตั้งราชวงศ์จิ๋น จากนั้นจึงปราบ 2 ก๊กที่เหลือ ส่วนของเกาหลี ทายาทของผู้ตั้งก๊กจะเป็นผู้รวบรวมเองคือ พระเจ้ามูยอล (คิมชุนชู ที่ผมเอ่ยในบล็อกที่ผ่านมาครับ) แห่งชิลลา ทรงรวบรวมทั้ง 3 ก๊กเป็นหนึ่งเดียว โดยความช่วยเหลือจากจีนในสมัยราชวงศ์ถัง








โจโฉ


เล่าปี่


ซุนกวน

ทีนี้เราจะพูดถึงหนังเรื่องไหนบ้างที่เอ่ยถึงประวัติศาสตร์ในสมัยสามก๊กเกาหลีบ้าง จะขอเอ่ยถึงทางช่อง3เท่านั้นนะครับ เพราะดูมากกว่าทางอื่น มีดังนี้ครับ

1. จูมง มหาบุรุษกู้บัลลังก์

2. มูยุล มหาบุรุษพิชิตแผ่นดิน

3. จามอง ยอดหญิงผู้พิทักษ์แผ่นดิน

4. ซอนต็อก มหาราชินีสามแผ่นดิน

5. ซอดองโย สายใยรักสองแผ่นดิน

โดย 3 เรื่องแรก เป็นเรื่องของโคกูรยอ ส่วนซอนต็อก เป็นเรื่องของชิลลา และซอดองโย เป็นเรื่องของแพกเจกับชิลลาครับ และซอนต๊อกกับซอดองโยเป็นช่วงปลายสมัยสามก๊กเกาหลีนะครับ ส่วน 3 เรื่องแรก เป็นช่วงต้นของสามก๊กเกาหลีครับนเรื่อง็นเรองรหวง แพกเจ แ





















วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ซอนต๊อก มหาราชินีสามแผ่นดิน - ตัวละครในเวลาต่อจากนั้น


วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องซีรี่ส์เกาหลีที่ออกอากาศทางช่อง3กันบ้าง ซอนต๊อก มหาราชินีสามแผ่นดิน ฟังหัวข้อแล้วอาจจะงง ผมหมายถึงหลังสมัยของซอนต๊อกไปแล้ว ในเรื่องใครจะเกิดอะไรบ้างกลายเป็นใครในเวลาต่อจากนั้น โดยจะขอบอกเฉพาะตัวที่สำคัญๆ 2 ตัว ดังนี้







คิมชุนชู ที่ถูกเอ่ยถึงในตอนที่ผ่านมา(ที่ออกอากาศตอนนี้ และจะมีบทบาทมากขึ้นในท้ายเรื่อง) โอรสองค์หญิงชอน-มยอง ต่อมาจะได้ครองราชย์ เป็นพระเจ้ามูยอล ในสมัยนี้เองเกาหลีจะรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยความช่วยเหลือจากจีน เพราะพระองค์เติบโตที่เมืองจีน และพระองค์ได้นำรูปแบบการปกครองจากจีนมาใช้ในชิลลา




ตัวเอกอย่างคิมยูซิน ต่อมากลายเป็นแม่ทัพผู้พิชิตแคว้นแพกเจ ต้องอธิบายก่อนว่าสมัยนั้นเกาหลีแตกเป็นสามก๊กครับ คล้ายๆกับทางจีน แต่ต่างที่จีนนั้นจบลงโดยที่ทายาทของทั้ง 3 ผู้ตั้งก๊ก คือ โจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน แต่เป็นสุมาเอี๋ยน ขุนนางของโจฮวนชิงราชย์โจฮวนแล้วรวมสามก๊กเป็นหนึ่ง แต่ของเกาหลีจะเป็นชิลลาที่รวบรวมทั้ง3ก๊กได้โดยเป็นเชื้อสายสืบทอดมาจากผู้ตั้ง โดยที่คิมยูซินนำกองทัพร่วมกับจีน