tweetbutton

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สภาพเกาหลี กับสงครามระหว่างชาติเพื่อนบ้าน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

หลายคนที่ได้ดูซีรี่ส์เกาหลีมาแล้วหลายเรื่อง ก็อาจจะได้เห็นว่า เกาหลีตกอยู่ในสภาพที่มหาอำนาจเพื่อนบ้านต่างต้องการแย่งชิงมาตลอด หรือแม้แต่กับชนเผ่าเร่ร่อนก็ตาม ดังนั้นจึงขอประมวลหนัง(เท่าที่รู้)ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามระหว่างแต่ละประเทศที่มีเกาหลีเป็นเหตุของสงคราม เรียงตามช่วงเวลาดังนี้

ก่อนอื่น ต้องเอ่ยถึงสาเหตุก่อน เพราะเกาหลีตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นจุดเริ่มของการแสวงหาอิทธิพล ในดินแดนตรงข้าม(เกาหลีกั้นจีนกับญี่ปุ่น กั้นจีนกับชนเผ่าเร่ร่อน และกั้นรัสเซียกับจีนและญี่ปุ่น) จึงกลายเป็นว่า ถ้าฝ่ายใดต้องการมีอิทธิพล ก็ต้องเริ่มที่เกาหลีก่อน เช่นญี่ปุ่น ถ้าต้องการรุกรานจีน ก็ต้องยึดเกาหลีให้ได้ ส่วนชนเผ่าเร่ร่อนนั้น เห็นว่าเกาหลีเป็นมิตรกับจีน จึงต้องปราบเกาหลีให้ได้ เพื่อมิให้เกิดศึกสองด้านขณะที่ตีจีน

สงครามครั้งแรก : กับชี่ตัน ในสมัยพระเจ้าซองจงแห่งโครยอ(ค.ศ.993) จบลงในสมัยพระเจ้าฮยอนจง(ค.ศ.1019) สำหรับซีรี่ส์ที่เกี่ยวข้องน่าจะมีแต่เรื่องชอนชู หัวใจเพื่อแผ่นดิน


สงครามครั้งที่2 : กับมองโกล เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าโคจงแห่งโครยอ(ค.ศ.1225) จบลงในสมัยพระเจ้าวอนจง(ค.ศ1270)เกาหลีพ่ายแพ้ ตกอยู่ใต้การปกครองของมองโกล สำหรับซีรี่ส์ที่เกี่ยวข้องยังไม่รู้จริงๆ

สงครามครั้งที่3 : กับญี่ปุ่น เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าซอนโจแห่งโชซอน(ค.ศ.1592)จบลงในสมัยเดียวกัน(ค.ศ.1598)ครั้งนี้มีจีนเข้ามาช่วย ญี่ปุ่นภายใต้การยำของฮิเดโยชิจึงถอยไป แต่ก็ทำให้เกาหลีเสียหายอย่างหนัก และเริ่มเข้าสู่จุดตกต่ำสำหรับซีรี่สที่พอจะเกี่ยวข้องอยู่บ้างก็มีเรื่องตำหนักนางพญา

สงครามครั้งที่4 : กับแมนจู เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอินโจ(ค.ศ.1619)จบลงในสมัยเดียวกัน(ค.ศ1636) ผลคือเกาหลีแพ้ และตกเป็นประเทศราชของจีน ซีรี่ส์เรื่องตำหนักนางพญาก็ค่อนข้างเกี่ยวข้องกัน เพราะสงครามนี้อาจไม่เกิดขึ้น ถ้าพระเจ้าควางแฮกุนที่ดำเนิน
นโยบายเป็นกลางระหว่างราชวงศ์หมิงของจีนกับแมนจูไม่ถูกับไล่แล้วเชิญพระเจ้าอินโจที่ต่อต้านแมนจูขึ้นมา

สงครามครั้งที่5 : สงครามจีน – ญี่ปุ่น ค.ศ1894 เกิดในสมัยพระเจ้ากวางสูของจีน ที่มีซูสีไทเฮากุมอำนาจ , ญี่ปุ่นในสมัยจักรพรรดิเมจิ และเกาหลีสมัยพระเจ้าโคจงแห่งโชซอน ยุติในค.ศ.1895 ผลคือจีนแพ้ เกาหลีหลุดพ้นจากอิทธิพลของจีน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลญี่ปุ่น เพราะพระเจ้าโคจงหนีเข้าสถานทูตรัสเซีย ทำให้รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลแทนในเวลาสั้นๆ ซีรี่ส์ที่เกี่ยวข้องมีทั้งจีน และเกาหลี คือเรื่องซูสีไทเฮา(ที่ออนแอร์ทางทีวีไทย) กับเรื่อง Empress Myung Sung

สงครามครั้งที่6 : สงครามรัสเซีย – ณี่ปุ่น ค.ศ.1904 – 1905 เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่2ของรัสเซีย ญี่ปุ่นสมัยจักรพรรดิเมจิ เกาหลีสมัยพระเจ้าโคจง เกิดจากการที่รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลในเกาหลี และญี่ปุ่นต้องการกำจัดรัสเซียออกไป ผลคือรัสเซ๊ยแพ้ เกาหลีอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่นในฐานะ"รัฐอารักขา"ของญี่ปุ่น ก่อนจะถูกผนวกในค.ศ.1910สำหรับซีรี่ส์ที่พอจะเกี่ยวข้องบ้างก็น่าจะเป็น Empress Myung Sung นอกนั้นก็ไม่รู้จริงๆ

สงครามครั้งที่7 : สงครามเกาหลี ค.ศ. 1950 – 1953 เกิดจากการแบ่งเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่สองของบรรดามหาอำนาจ โดยแบ่งเกาหลีที่เส้น38องศา โดยทางเหนือให้สหภาพโซเวียตดูแล ส่วนทางใต้สหรัฐเข้าดูแล แต่ก็เกิดปัญหาในการรวมขึ้น เพราะต่างฝ่ายต่างเผยแพร่แนวคิดทางการเมืองของตนเข้าไป โซเวียตแพร่คอมมิวนิสต์ สหรัฐแพร่ประชาธิปไตย จึงเกิดความแตกต่างทางการเมือง ขณะเดียวกันแนวทางการรวมเกาหลีของสองฝ่ายก็ต่างกัน ทางเหนือเน้นใช้กำลัง ทางใต้เสนอใช้การลงมติ เกาหลีเหนือจึงเริ่มรุกก่อน จนเกือบรวมได้สำเร็จ UN ภายใต้การนำของสหรัฐก็ขวางไว้ก่อน และรุกจนเกือบรวมเกาหลีได้ แต่จีนก็เข้ามาร่วมและผลักดันให้กลับไปอยู่ที่เส้น38องศาตามเดิม ในที่สุด1953ก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิง และไม่ถือว่าสงครามยุติจนปัจจุบัน หนังที่เกี่ยวข้องก็คือเรื่อง แททึกกี


ซีรี่ส์ทั้งหลายที่ไม่รู้จริงๆก็รบกวนท่านผู้อ่านแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ ^_^

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พัฒนาการของพระคลังสินค้า

ก่อนสมัยอยุธยายังไม่มีหน่วยงานนี้เก็บภาษี อีกทั้งยังไม่มีการตั้งสินค้าต้องห้ามตราบจนสมัยอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงได้ตั้งพระคลังสินค้าขึ้นโดยให้สังกัดกรมพระคลัง หนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รับซื้อและเก็บสินค้าต้องห้าม เช่น อาวุธ กฤษณา ฝาง ดีบุก นฤมาต งาช้าง ไม้จันทน์ ละไม้หอม โดยกำหนดให้ประชาชนขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น และทำหน้าที่นำสินค้าเหล่านี้ไปขายกับต่างประเทศโดยทางสำเภา หรือขายให้กับชาวต่างชาติทีเข้ามาซื้อ นับเป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับราชสำนักอย่างมาก

จนมาในสมัยรัตนโกสินทร์ การค้ากับต่างประเทศเฟื่องฟูขึ้นแต่ทว่าต่างชาตินั้นไม่พอใจในระบบพระคลังสินค้าของไทยอย่างมาก ซึ่งทำให้สินค้าราคาแพง ในพ.ศ. 2369 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ไทยก็ได้ทำสัญญาเบอร์นี ทำให้ไทยต้องยกเลิกพระคลังสินค้า รัชกาลที่ 3จึงทรงแก้ปัญหาโดยการตั้งระบบเจ้าภาษีนายอากร โดยให้เอกชนเข้ามาประมูลภาษีสินค้าแต่ละชนิดรับหน้าที่เก็บภาษีแทนรัฐ โดยเอกชนจะจ่ายเงินภาษีที่ประมูลแก่รัฐเป็นรายปี และให้ประชาชนไปขายสินค้าแก่เจ้าภาษีนายอากรแทน ตราบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) อังกฤษได้ส่งเซอร์ จอห์น เบาริงมาไทยในพ.ศ. 2398 เพื่อเรียกร้องให้เลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร รัชกาลที่4จึงทรงยินยอมทำสัญญาเบาริงกับอังกฤษ มีผลให้การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรืองขึ้น ส่วนระบบเจ้าภาษีนายอากรก็ลดบทบาทลงไป

จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบบเจ้าภาษีนายอากรนั้นไม่มีประสิทธิภาพ มีการทุจริตภาษี การเก็บภาษีก็กระจัดกระจายไปตามกรมต่างๆ อีกทั้งการทำบัญชีก็ไม่เรียบร้อย จึงนำไปสู่การปฏิรูปภาษีอากร โดยทรงจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีทั้งหมดไว้ที่หน่วยงานนี้ โดยตราพรบ.สำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416โดยสังกัดกระทรงพระคลังมหาสมบัติ

นอกจากนี้ ก็ทรงออกพรบ.เจ้าภาษีอากร พ.ศ.2416 และพรบ.ภาษีอากร พ.ศ. 2435 โดยวางกฎเกณฑ์การเก็บภาษี การประมูลภาษี การส่งเงินประมูล และการลงโทษผู้เป็นหนี้หลวง(ผู้ที่ไม่จ่ายภาษี) และยังมีการวางระเบียบเพิ่มเติม เพื่อให้การเก็บภาษีอากรรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น พรบ.เพิ่มเติมภาษีภาษีอากร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2449) แก้ไขการประมูลภาษีในกรุงเทพ ต่อมาก็ทรงพยายามยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากรโดยใช้กฏเกณฑ์เร่งรัดเงินภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงไม่มีใครกล้าประมูล ส่วนเจ้าภาษีที่ส่งเงินไม่ครบและทำความผิดก็จะถูกปลด โดยรัฐจะเก็บภาษีชนิดนั้นๆเอง จนจำนวนเจ้าภาษีนายอากรก็ลดลงจนหมดไป และเมื่อทรงตั้งมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ก็ได้ทดลองให้มณฑลเทศาภิบาลทำหน้าที่เก็บภาษีแทน โดยทดลองที่มณฑลปราจีนบุรีก่อน เมื่อได้ผลดีจึงได้ใช้ระบบนี้ที่มณฑลอื่นๆ

ส่วนการทำบัญชี ก็ได้ทรงตั้งกรมบัญชีกลางขึ้น ในพ.ศ. 2458 เพื่อรวบรวมบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายทั้งหมด

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)จึงได้ยกเลิกการเก็บภาษีโดยมณฑลเทศาภิบาลและได้ให้ส่วนกลางเก็บแทนในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ต่อมาทรงรวมกรมสรรพากรในและนอก ซึ่งสังกัดกระทรวงนครบาลและมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่5 เป็นกรมสรรพากร และให้สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ส่วนการเก็บภาษีขาเข้าขาออก หรือภาษีศุลกากร ก็ได้ตั้งกรมศุลกากรขึ้น เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีนี้ในพ.ศ. 2469

จนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงพระคลัง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการคลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และใช้ชื่อนี้มาจนปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา 1962 กับหนัง Thirteen Days

เพิ่งได้ดูหนังThirteen Days ที่เคยฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อช่วง ค.ศ. 2000 เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยสงครามเย็นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 โดยตรงกับช่วงของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ของสหรัฐฯ ,นิกิต้า ครุสชอฟ(บางที่เรียกครุสเชฟ)แห่งโซเวียต และฟิเดล คัสโตรของคิวบา นับเป็นวิกฤติที่เกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ โดยมีชื่อเรียกต่างกันไป คิวบาเรียกวิกฤติเดือนตุลาคม รัสเซียเรียกวิกฤติแคริบเบียน

เคนเนดี้ขณะแถลงเรื่องคิวบาผ่านทีวี
นิกิต้า ครุสชอฟ ฟิเดล คาสโตร

วิกฤตินี้เริ่มขึ้นเมื่อเครื่องบินU-2ของสหรัฐฯบินเหนือน่านฟ้าคิวบาแล้วพบว่ามีการลำเลียงขีปนาวุธจากโซเวียตมาติดตั้งยังคิวบาในวันที่14ตุลาคม ซึ่งต้องกล่าวก่อนว่า หลัง1959คิวบาได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์โดยคัสโตรนี่เอง หลังจากนั้นคิวบาก็เริ่มมีนโยบายต่างประเทศห่างจากสหรัฐแล้วไปหาโซเวียตมากขึ้น จึงไม่เป็นที่แปลกใจ ว่าทำไมโซเวียตจึงส่งอาวุธให้คิวบา ซึ่งคิวบาอยู่ทางใต้ของสหรัฐ และสหรัฐฯจึงถือว่าเป็นการคุกคาม และได้ประกาศกร้าวให้โซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยขู่ว่าจะนำกำลังเข้าถอนเองถ้าโซเวียตไม่ถอนออกไป(ส่วนขั้นตอนการตัดสินใช้มาตรการต่างๆมีในหนังอย่างละเอียดลองดูได้เลยครับ) รวมถึงได้เริ่มการปิดล้อมคิวบาตรวจเรือที่จะเข้าคิวบาทุกลำ


เครื่องบิน U-2

ภาพที่ถ่ายจาก U-2 ในวันที่14ต.ค.

โดยวิกฤติทวีความตึงเครียดมากขึ้นในวันที่22-28ต.ค.เมื่อโซเวียตเสนอว่าจะยอมถอนโดยดี แต่สหรัฐต้องถอนขีปนาวุธที่ตุรกีด้วย ซึ่งทางสหรัฐฯไม่ยินยอมในทีแรก แต่ก็ได้ถอนออกอย่างเงียบๆในเวลาต่อมา และทางเคนเนดี้ก็ได้ย้ำข้อเรียกร้องเดิมอีกครั้ง โดยขู่ว่าให้ตอบภายใน24-48ช.ม.พร้อมทั้งย้ำข้อเสนอนี้ผ่านทางทูตโซเวียตในสหรัฐฯ และในที่สุดโซเวียตก็ได้ยินยอมตกลงถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยมีข้อแม้ว่าสหรัฐจะไม่บุกคิวบา แม้คัสโตรจะไม่พอใจก็ตาม และมีการตรวจสอบโดยเลขาธิการUNขณธนั้น คือ นายอู ถั่น ซึ่งคัสโตรปฏิเสธการตรวจสอบ สหรัฐจึงได้นำเครื่องบินU-2ขึ้นตรวจสอบเอง จนเดือนม.ค.1963อูถั่น ก็ได้ออกมายืนยันว่าการรื้อถอนขีปนาวุธเสร็จสิ้น

อูถั่น เลขาธิการUNขณะนั้น


นี่คือหนัง part แรกครับ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ม่านประเพณี...ความแตกต่างทางชนชั้น กับเรื่องทางประวัติศาสตร์

จากเรื่องของเหลียงซานป๋อ – จู้อิงไถ ที่ออกอากาศทางช่อง3ตอนตี2ครึ่ง เป็นเรื่องราวของความรักระหว่างชายหญิงที่เกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์จิ้นของจีน เดิมทีก็มีการถ่ายเป็นภาพยนตร์โดยชอว์บราเดอร์ เมื่อค.ศ.1963 นำแสดงโดยหลินปอ แสดงเป็นเหลียงซานป๋อ และเล่อตี้ แสดงเป็นจู้อิงไถ นับเป็นหนังที่ทำได้ดีมากในมุมมองส่วนตัว เมื่อเอามาทำใหม่ในแบบละคร การเดินเรื่องค่อนข้างยาวกว่าภาพยนตร์มากทีเดียว ส่วนฉากจบ(ซึ่งแอบไปดูในyoutube ขออนุญาตไม่เอามาลง เพื่อไม่ให้เสียอรรถรสในการรับชมครับ) อลังการมากทีเดียว พอๆกับหนังในค.ศ.1963

ม่านประเพณีเวอร์ชั่นค.ศ.2007

ม่านประเพณีเวอร์ชั่น ค.ศ.1965

ในเรื่องเวอร์ชั่น2007ที่ออนแอร์ทางช่อง3นั้น ระบุว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ระหว่างชนชั้นสูงและชาวบ้าน เชื่อแล้วจริงๆว่าเป็นเช่นนั้น เพราะในเรื่อง "ซูอัน" พ่อครัวในสำนักเรียน ก็ได้กลายเป็นหัวหน้ากลุ่มโจรภูเขา เพราะความเก็บกดจากการที่ถูกชนชั้นสูงรังแก และคนรักคือ "ซินเหลียน" ถูกรุมข่มขืนจนตาย โดยกลุ่มคนรับใช้ของพ่อของ "หม่าเหวินไฉ" และขณะเดียวกันเมืองเม่าที่เหลียงซานป๋อเป็นนายอำเภอก็เกิดน้ำท่วมจนประชาชนอดอยากและเกิดความวุ่นวายไปทั่ว ซึ่งช่วงปลายจิ้นตะวันออกก็เกิดความวุ่นวายทั่วแผ่นดินจีน จึงไม่เป็นที่แปลกใจเท่าไรนัก

สมัยของราชวงศ์จิ้น เราอาจไม่รู้จักนัก แต่ถ้าเอ่ยถึงชื่อของ"สุมาเอี๋ยน"ละก็ น่าจะรู้จักบ้างเขาคือผู้ก่อตั้งราชวงศ์จิ้น โดยทำการยึดอำนาจจากพระเจ้าโจฮวนลูกหลานของโจโฉ ในสมัยสามก๊ก เป็นลูกหลานของ"สุมาอี้"กุนซือสำคัญของ"โจโฉ"และ"โจผี"นั่นเอง


สุมาเอี๋ยนปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จิ้น

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของตระกูลหยางสมัยราชวงศ์ซ่งและชอนชูสมัยโครยอ : การเผชิญหน้ากับเหลียว(ชิตัน)

จากซีรีย์ “ยอดขุนพลตระกูลหยาง” ที่ออกอากาศทางช่อง3ตอนนี้ ตอนตี2ครึ่ง จันทร์ถึงศุกร์ จริงๆ2เรื่องนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยทั้งสองประเทศเผชิญศัตรูสำคัญเหมือนกันคือ “ชี่ตัน” หรือจีนเรียกว่า “ต้าเหลียว” โดยหยางเย่มีชีวิตในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับพระนางชอนชู (โดยหยางเย่เสียชีวิตปีค.ศ.986 และพระนางชอนชูสิ้นพระชนม์ค.ศ.1029)

การเผชิญหน้ากับเหลียวของโครยอนั้น เหลียวมีความเห็นว่าโครยอเป็นดินแดนคั่นกลางกับจีน อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ถ้าจะพิชิตจีนได้ ต้องพิชิตโครยอให้ได้ เพื่อมิให้เกิดศึกกระหนาบ โดยเรื่องทำนองนี้จะมาเกิดขึ้นอีกสมัยโชซอนในรัชกาลควางแฮกุน (ดูรายละเอียดในบล็อกหัวข้อยอนซันกุน VS ควางแฮกุน จุดเหมือน จุดต่าง นโยบายในสมัยทั้งสอง เป็นทรราชย์หรือไม่ อย่างไร )ซึ่งมีปัญหากับแมนจูนั่นเอง ส่วนการที่เหลียวเข้าโจมตีจีนนั้น เป็นความต้องการโดยตรง โดยช่วงที่เหลียวเข้ามานั้นอยู่ในช่วงตลอดราชวงศ์ซ่ง ตราบจนช่วงปลายเหลียวก็ได้แพ้มองโกล และมองกลก็ได้ยึดครองจีนทั้งหมด ตลอดจนโครยอในตอนกลาง ซึ่งช่วงเวลาที่ตรงกับพระนางชอนชู คือรัชกาลซ่งไท่จู่จนถึงรัชกาลซ่งเหรินจงนั่นเอง

หยางเย่นั้นมีลูกกับเสอไซ่ฮัว(เสอไท้จวิน)9คนและตามตำนานที่เล่ากันมานั้น เหลือเพียงหยางลิ่วหลาง ลูกคนที่6เท่านั้นที่มีชีวิตรอดจากการรบและได้มีลูกชื่อหยางจงเป่า แต่งงานกับมู่กุ้ยอิง มีลูกคือหยางเหวินกว่าง เรื่องจึงค่อนข้างโยงกับขุนศึกตระกูลหยาง และมู่กุ้ยอิง ยอดหญิงตระกูลหยาง ที่เคยออกอากาศมาเมื่อหลายปีก่อน

อีก1ข้อสงสัยของผมก็คือ อ๋อง8นั้น เป็นคนเดียวกับในเรื่องเปาบุ้นจิ้นหรือไม่ เท่าที่หาข้อมูลแล้ว ไม่น่าจะเป็นคนเดียวกัน เพราะเปาบุ้นจิ้นเพิ่งเริ่มรับราชการในสมัยซ่งไท่จง(ซึ่งเป็นฮ่องเต้ในเรื่องนี้) และมารับตำแหน่งระดับสูงขึ้นหน่อยในสมัยซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นพระนัดดาของซ่งไท่จงนั่นเอง น่าจะตรงกับช่วงของขุนศึกหญิงตระกูลหยาง(บรรดาสะใภ้ทั้ง7และลูกสาวอีก2คนของหยางเย่ ซึ่งนำโดยเสอไซ่ฮัว)

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาพการเพาะปลูกสมัยสุโขทัย...ดีจริงหรือ???

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”...คำกล่าวในศิลาจารึกหลักที่1สมัยสุโขทัย คำกล่าวที่ทำให้เราเชื่อกันว่าการเพาะปลูกสมัยสุโขทัยนั้นดีมาก แต่ที่จริงที่เขายกมาพูดกันนั้น ยังขาดไปท่อนหนึ่งครับ “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จึงถือสรุปได้ว่า เฉพาะสมัยพ่อขุนรามฯเท่านั้นที่การเพาะปลูกดี อุดมสมบูรณ์

จากที่อ.ไพฑูรย์ สายสว่าง ได้วิจัยโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประกอบ จึงบอกได้ว่า การเพาะปลูกสมัยสุโขทัยไม่ดีนัก เนื่องจามีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด ซึ่งเกิดจากการควบคุมน้ำที่ไม่ดีนัก เพราแม้อาณาจักรสุโขทัยจะมีแม่น้ำยมและน่านไหลผ่าน ซึ่งก็น่าจะใช้เพาะปลูกได้ดี แต่ในสมัยนั้นน้ำมีเยอะและไหลเชี่ยวเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลแรงและท่วมเป็นบริเวณกว้าง ดังนั้นพื้นที่นครสววรค์และตลอดจนดินแดนตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นหนองบึงเสียส่วนใหญ่และท่วมเป็นบริเวณกว้างอีกทั้งเป็นที่ลุ่ม นอกเสียจากบริเวณที่ลาดเชิงเขาลงมาเท่านั้นที่น้ำไม่ท่วม

ดังนั้นพื้นที่ที่พอใช้เพาะปลูกได้ก็คือพื้นที่รอบเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะสองข้างของลำน้ำเล็กๆที่จะไหลลงสู่แม่น้ำยม ดดยบริเวณที่ใช้ได้ก็คือ พรานกระต่าย 50 ตร.กม. คีรีมาส 10-15 ตร.กม. ทุ่งเสลี่ยม 70-90 ตร.กม. และอื่นๆรวมทั้งหมดไม่เกิน1,000 ตร.กม. ซึ่งจะเลี้ยงประชากรได้ไม่เกิน3แสนคน


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่พรานกระต่าย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่คีรีมาส


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่ทุ่งเสลี่ยม

เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์สุโขทัยจึงได้พยายามส่งเสริมการเพาะปลูกเช่น ให้สิทธิ์ในที่ดินที่เข้าไปถางป่าเพื่อเพาะปลูก ดังในศิลาจารึกหลักที่1ระบุไว้ว่า

“...สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง

ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้

ป่าลางก็หลายในเมืองนี้

หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้

ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...”

หรือในจารึกนครชุมก็ได้ระบุว่าที่ดินที่ถางป่าไว้เพาะปลูก สามารถเป็นมรดกให้ลูกหลานได้

อีก1นโยบายก็คือการสร้าง“สรีดภงส์”หรือเขื่อนอยู่ทางใต้ของเมืองสุโขทัยนี้เอง

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของจีนยุคแรกเริ่มกับหนังเรื่อง“ศึกเทพสวรรค์บัลลังก์มังกร” : โจ้วอ๋อง...ทรราชย์ยุคแรกของจีน

เรื่องนี้ในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ซางย่างเข้าราชวงศ์โจว โดยจุดเริ่มอยู่ที่การที่โจ้วอ๋อง(หรือติวอ๊วงในจีนแต้จิ๋ว)กล่าววาจาจาบจ้วงเจ้าแม่หนี่ว์วา(หรือหนึ่งออในแต้จิ๋ว)ผู้สร้างมนุษย์ และได้ช่วยเหลือโลกโดยอุดท้องฟ้าด้วยหิน5สีเมื่อครั้งเสาค้ำโลกล้มลง ในขณะที่ทำการสักการะประจำปีซึ่งได้เกิดเหตุลมพัดชุดทรงของเทวรูปจนเปิด เห็นรูปร่างภายใน(เทวรูปสมัยนั้นสร้างแบบมีสัดส่วนเหมือนจริง)ว่า หากได้มาเป็นมเหสีก็คงดี เจ้าแม่จึงพิโรธ และได้สั่งให้เจียงจื่อหยาและเซินกงเป้ามาสั่งสอนโจ้วอ๋อง(โจ้วอ๋องเป็นฮ่องเต้ที่โหดร้ายชอบสงคราม) โดยเซินกงเป้าได้ใช้ปีศาจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนเจียงจื่อหยาใช้คุณธรรมช่วย แต่เมื่อไม่อาจบรรลุเป้าหมาย เพราะเซินกงเป้าใช้ปีศาจจิ้งจอกเข้าสิงต๋าจี เพื่อยั่วยวนโจ้วอ๋องจนบ้านเมืองระส่ำระสาย ขุนนางตงฉินถูกกังฉินให้ร้ายจนต้องตาย จึงได้หนีไปแคว้นซีฉี เพื่อร่วมมือกับโจวเหวินหวังแข็งเมืองกับโจ้วอ๋อง และต่อมาเมื่อสิ้นโจวเหวินหวังแล้ว โจวอู่หวังได้ครองราชย์ต่อมา จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายเพื่อโค่นล้มโจ้วอ๋อง และสำเร็จในเวลาต่อมา

นี่คือเรื่องราวโดยคร่าวๆของหนังเรื่องนี้ครับ ทีนี้จะขอเล่าเรื่องในส่วนที่แตกต่างและเพิ่มเติมบ้าง

เจ้าแม่หนี่ว์วา เป็นมเหสีของจักรพรรดิฝูซี จักรพรรดิยุคดึกดำบรรพ์ของจีน เป็นผู้สร้างมนุษย์ตามความเชื่อของจีน มีตำนานว่าได้สั่งให้ปีศาจจิ้งจอก ปีศาจพิณ ปีศาจไก่ มาทำให้บ้านเมืองล่มสลาย โดยไม่ให้ผู้คนเดือดร้อน แต่ทั้ง3ทำผิดเงื่อนไข จึงได้ถูกลงโทษ

โจ้วอ๋อง เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง เจ้าของนโยบาย “เสาทองแดง บ่ออสรพิษ”รวมถึงสร้างสิ่งก่อสร้างที่เกณฑ์ประชาชนมามาสร้างจนล้มตายหลายคน(ภายใต้การส่งเสริมจากต๋าจีฮองเฮาผู้ล่มเมือง)

ต๋าจี เดิมทีเป็นลูกสาวเจ้าเมืองภายใต้อาณัติของโจ้วอ๋อง ถูกส่งตัวมาเพื่อเป็นสนม ต่อมาถูกปีศาจจิ้งจอก9หางสิง และได้นำความล่มจมของราชวงศ์ซางในต่อมา

โจวเหวินหวัง เป็นเจ้าเมืองซีฉี เดิมชื่อจีชาง เชี่ยงชาญการทำนายด้วยกระดองเต่า(ต่อมาคือคัมภีร์อี้จิง)มีตำนานว่าถูกต๋าจีบังคับให้กินลูกชิ้นที่ทำจากเนื้อของลูกตัวเอง ซึ่งถูกประหารก่อนหน้า และเมื่อกลับถึงเมืองซีฉีก็ได้สำรอกออกมาเป็นกระต่าย ขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ กับเทพธิดาฉางเอ๋อ


เจียงจื่อหยา(จีนแต้จิ๋วเรียกเกียงจูแหย) เป็นกุนซือคนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ก่อนหน้าเคยเป็นขุนนางราชวงศ์ซาง แต่ถูกต๋าจีกำจัด แต่หนีรอดมาได้ จึงมาอยู่ป่า และได้ตกปลาโดยใช้เบ็ดตรงรอโจวเหวินหวังเป็นที่มาของรูปปั้นเกียงไท้กงตกปลา หรือที่หลายๆคนมักจะเห็นรูปปั้นตาแป๊ะตกปลานั่นเอง

โจวอู่หวัง เป็นผู้ปราบโจ้วอ๋องลงสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองจีน

เรื่องราวนี้ค่อนข้างมีอภินิหารแฝงอยู่มาก ลองอ่านเพิ่มเติมในหนังสือไคเภ็ก และห้องสินได้ครับ